วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของราชบุรี เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในฐานะแหล่ง ท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในภาพของตลาดลอยน้ำที่คราคร่ำไปด้วยเรือพายลำย่อมบรรทุกสินค้าที่ี จำเป็น ต่อการครองชีพ พ่อค้าแม่ค้าสวมเสื้อผ้าโทนสีเข้มแบบชาวสวน ใส่หมวกงอบใบลาน พายเรือเร่ขายแลก เปลี่ยนสินค้า ในยามที่เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหัวใจหลัก ปัจจุบันได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่าง ประเทศเข้ามา เที่ยวชมวิถีชีวิต และการค้าขายในตลาดน้ำแห่งแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เป็นตลาด เก่าแก่นับร้อยปี ซึ่งได้ขุดคลองดำเนินสะดวกขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าการคมนาคม ในท้องถิ่นนี้ไม่มีถนนที่เชื่อมกับอำเภออื่นๆ ส่วนมากใช้เรือเป็นพาหนะ โดยคลองนี้จะ เชื่อมแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง เข้าไว้ด้วยกัน ใช้เวลาขุดประมาณ 2 ปี ที่มาของชื่อคลองได้รับพระราชทาน จากรัชกาลที่ 5
ตลาดน้ำดำเนิน
ในอดีตตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นศูนย์รวมในการค้าขาย พืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลจากเรือกสวนไร่นาของ เกษตรกรในย่านนั้น แต่ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นกึ่งตลาดบกตลาดน้ำ คือ มีของขายทั้งบนบกและในเรือ มา เที่ยวที่ตลาดนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะร้อน เพราะมีทางเดินที่มีหลังคาตลอดสองฝั่งของตลาด จึงทำให้เดินเที่ยวชม ตลาดได้ อย่างสบาย ๆ คลองนี้เป็นคลองที่คนใน จ. ราชบุรี จ.สมุทรสาคร และ จ.สมุทรสงคราม ไปมาหาสู่กัน มีความหมาย ตรงกับชื่อ “ดำเนินสะดวก” คือ การเดินทางสะดวก แม้ทุกวันนี้ จุดประสงค์เริ่มแรกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ยังมี พ่อค้าแม่ค้า และนักท่องเที่ยว เดินทางไปอย่างล้นหลาม ปัจจุบันตลาดน้ำดำเนินสะดวก จึงเปรียบเสมือน เป็นที่นัดของเรือร้อยๆลำเพื่อชุมนุมขายสินค้าการเกษตร และสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองตลอดจนร้านขายของ ที่รับจากโรงงานในกรุงเทพหรือจากต่างจังหวัดทั่วประเทศ สำหรับ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้วคลองที่เต็มไป ด้วยสินค้าทุกชนิดที่เขาตื่นตาตื่นราคาเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ ี่ีเดียวตลาดน้ำจะเริ่มคึกคัก ตั้งแต่ 6.00 น.ไป จน ถึงประมาณ 11.00 น. นอกจากเขาจะได้ชมตลาดน้ำแล้วชีวิตสองฝั่ง คลองของชาวไทยชนบทยังเป็นภาพที่ น่ามองอย่างมากสลับกับเรือกสวนและไร่นาของชาวบ้านส่วนใหญ่ของพื้นที่ ี่แถบนี้ต่างจากภาพที่เขาคุ้นตาตาม เมืองใหญ่ๆ ไปลิบลับ
ตลาดน้ำดำเนินตลาดน้ำดำเนิน

1. เดินชมตลาดน้ำ เลือกซื้อ เลือกชิม อาหารและสิ้นค้าต่างที่พ่อค้าแม่ค้า พายเรือมาขาย
หากเดินบนบกก็จะได้ชมสินค้าอย่างหนึ่ง จะได้เลือกซื้อสินค้าในคลองได้ง่ายขึ้น สินค้าที่นำมาขายส่วนมากจะ เป็นผลไม้ เช่น กล้วย ส้มโอ ชมพู่ ลำไย มะม่วง ฯลฯ สนนราคาก็ไม่แพง เพราะมาจากชาวสวนโดยตรง ของกินมี ก๋วยเตี๋ยวเรือ ซึ่งมีให้เลือกหลายเจ้า นอกจากนี้ก็ยังมีสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองจำหน่ายด้วย เช่น ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูปผ้าไหม หมวกงอบใบลาน เป็นต้น และยังจะได้ชมเรือกนาไร่สวนของชาวบ้านแถบนี้อีกด้วย
ตลาดน้ำดำเนิน
ตลาดน้ำดำเนิน

2.นั่งเรือชมบรรยากาศ หรือจะเลือกชิมอาหารกันบนเรือ
นอกจากเดินเที่ยวชมกันบนบกแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถนั่งเรือชมตลาดน้ำได้ สามารถติดต่อเรือได้ตลอด สองฝั่งทางเข้าตลาดน้ำดำเนินสะดวก ซึ่งที่ท่าเรือจะมีบริการที่จอดรถให้พร้อม ราคาเรือเหมาลำละ 600 บาท นั่งได้ 6-8 คน ใช้เวลา ประมาณ 45 นาที
ตลาดน้ำดำเนินตลาดน้ำดำเนิน

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
- เปิดทุกวัน เวลา 07.00-12.00 น.
- เรือพาย 400 บาท/8 คน
- เรือหางยาว 600บาท/8 คน
- ค่าจอดรถ 20 บาท/คัน (ที่เอกชน)
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
- เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านบางแค สวนสามพราน นครชัยศรี นครปฐม เลย กิโลเมตรที่ 83 ไปเล็กน้อย จะพบแยกบางแพ เลี้ยวซ้ายมือไปตามทางหลวงหมายเลข 325 อีกประมาณ 25 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนะรัชต์เลยไป 200 เมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร - เดินทางไปตามสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ระยะทาง 63 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 325 ผ่านตัวเมือง สมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 325 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ทางเข้า ตลาดน้ำอยู่ก่อนถึง สะพานธนะรัชต์ 200 เมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร
2. โดยรถสาธารณะ
มีรถโดยสารปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี เที่ยวแรก ออกตั้งแต่เวลา 05.00 นาฬิกา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ลงรถบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ จากนั้น สามารถ โดยสารรถสองแถวบริเวณตลาดเชิงสะพานธนะรัชต์ เข้าไปถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวกเป็นระยะทางอีก
1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ (ห้องจำหน่ายตั๋วดำเนินสะดวก) โทร. 0-2435-5031 (ห้องจำหน่ายตั๋วราชบุรี) โทร. 0-2435-5036 นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปกับรถโดยสารสายอื่น ได้ เช่น สายกรุงเทพฯ-ราชบุรี, กรุงเทพฯ-เพชรบุรี ี(สายเก่า) แล้วลงตรงสี่แยกบางแพ ต่อจากนั้นต่อรถสองแถว ซึ่งวิ่งระหว่างทางแยกบางแพไปดำเนินสะดวก มีรถออก ทุก 10 นาที

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ : นาย สุธิพงค์  แท่นนิล
การศึกษา : โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ชั้น ม.4/1 เลขที่ 6
เกิด : วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2537 ราสี สีงห์
กลุ๊บเลือด : B 
อยู่บ้านเลขที่ 7หมู่ 4 ต.โรงเข้ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร 70210
เบอร์โทร : 082-7811473 / 034-859200
น้ำหนัก/สูง : 49 kg./171 cm. 
หนังที่ชอบ : แนวแฟนตาซี บู้ สงคราม สืบสวนสอบสวน ฮา
Music - ที่ชอบ tattoo colour - ทุกเพลง Bodyslam - ความเชื่อ
                        Clash - ยิ้มเข้าไว้ Slonmaschin - จันทร์เจ้า    อีกมากมายเยอะแยะมหาศาล
อาหารที่ชอบ : ข้ามันไก่ร้านป้าแดงหน้าวัดปราสาทสิทธิ์ อีกมากมาย
งานอดิเลก : เล่นกีต้าร์ เล่นGame(PB) hi5 f.   ฟังเพลง
                          
                        

วัฏจักรชีวิตของกบ

วัฏจักรชีวิตของกบ


วงจรชีวิตของกบ

การเจริญเติบโตของกบ เมื่อไข่กบมีการปฏิสนธิแล้ว จะฟักออกจากไข่เป็นลูกอ๊อดแล้วเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นกบ ขั้นตอนการเจริญเติบโตของกบ คือ







1.ไข่กบ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม มีสีน้ำตาลปนเขียว เกาะกันเป็นแพลอยปริ่มน้ำ กลุ่มละประมาณ 50 - 150 ฟอง ถ้ามีอุณหภูมิพอเหมาะ ไข่กบที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน

2. ลูกอ๊อด มีลักษณะคล้ายลูกปลา หัวโต หางยาว และหายใจด้วยเหงือก


3. กบ อาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอด มีขา 2 คู่ คือ ขาหน้า 1 คู่ ขาหลัง 1 คู่ เมื่อขาของกบงอกจนครบแล้ว หางก็จะหดหายไป





กบที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ตัวอย่างกบที่นิยมเลี้ยง เช่น

1. กบนา ( Rana tigerina Daudin) เป็นกบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม



2. กบบัว (Rana rugulosa Wiegmann) เป็นกบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม

3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer) เป็นกบพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้

4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show) เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้วกบเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้1) ช่วยกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช และกินปูนาซึ่งคอยทำลายต้นข้าวในนาข้าวให้เสียหาย2) เนื้อกบเป็นอาหารของคนได้ ส่วนหนังกบใช้ทำเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า รองเท้า และเครื่องดนตรีปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงกบเป็นอาชีพ เพื่อนำกบมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณกบในธรรมชาติอีกด้วย

วัฏจักรของน้ำ

วัฏจักรของน้ำ  คือ การเกิดและการหมุนเวียนของน้ำที่อยู่ในโลกนั่นเอง เพื่อให้เข้าใจขอบ
เขตของอุทกวิทยาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขอให้พิจารณาถึงวัฏจักรของน้ำซึ่งเคลื่อนที่หมุนเวียนอยู่
เป็นภาคตอนต่าง ๆ น้ำในโลกไม่สูญหายไปไหน แต่จะเปลี่ยนรูปอยู่ในสภาพต่างๆ วนเวียน
อยู่ในวัฏจักรของน้ำอันไม่มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดดังแสดงในรูป ซึ่งอาจจะอธิบายได้ดังนี้
ไอน้ำในบรรยากาศเรียกว่าatmospheric moistureได้แก่น้ำในรูปของไอน้ำมีอยู่ในบรรยา
กาศทั่วไปตลอดเวลา อาจมองเห็นได้ในรูปของ เมฆ หมอก และมองเห็นไม่ได้ในรูปของ
ไอน้ำ ไอน้ำนี้เกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ บนผิวโลก ไอน้ำในบรรยากาศนี้
ถ้าหากมีมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวความแปรปรวนทางอุตุนิยมวิทยาของบรรยากาศรอบผิวโลก
จะทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ และรวมตัวกัน เป็นหยดน้ำตกลงมาสู่ผิวโลกในหลาย
รูปแบบ เรียกว่า น้ำฟ้าหรือน้ำจากอากาศ (precipitation) ซึ่งถ้าเป็นของเหลวก็คือ ฝน (rian)
ถ้าเป็นรูปผลึกก็คือหิมะ (snow) ถ้าเป็นรูปของของแข็งก็คือ ลูกเห็บ (hail,sleet) และน้ำแข็ง
(ice) นอกจากนั้นก็มีรูปอื่น คือ น้ำค้าง (dew) หรือน้ำค้างแข็งตัว (frost) ในเมืองหนาว
น้ำฝนที่ตกลงมาสู่ผิวโลกนั้น อาจตกปรอยๆ บางส่วนอาจไม่ตกถึงผิวโลก แต่ระเหยบาง
ส่วนตามใบหรือลำต้นเรียกว่า interception ซึ่งบางส่วนจะระเหยกลับสู่บรรยากาศและบาง
ส่วนจะหยดต่อลงสู่พื้นที่ อาคารต่าง ๆ ก็กักน้ำฝนไว้ได้บ้างเช่นเดียวกัน
น้ำฝนส่วนที่ตกถึงพื้นดิน จะเริ่มซึมลงดินด้วยแรงดึงดูดของเม็ดดิน ในลักษณะที่เรียกว่า
การซึมสู่ผิวดิน หรือการซึมผ่านผิวดิน (infiltration) และจะกลายเป็นน้ำที่ไหลในดินเรียกว่า
subsurface runoff ในกรณีที่เม็ดดินมีควมชื้นเดิมน้อยมาก เช่น แห้ง อัตราการซึมลงดินใน
ลักษณะนี้จะสูงมาก แต่เมื่อดินอิ่มตัวก็จะลดลงทันทีทันใดเช่นกัน น้ำส่วนที่ซึมลงไปอิ่มตัว
อยู่ในดินจะถูกแรงดึงดูดโลกดูดให้ซึมลึกลงไปอีกเรียกว่า น้ำใต้ดิน (ground water) น้ำใต้
ดินนี้มีหลายระดับขั้น จะค่อยๆไหลตามความลาดเทของชั้นดินไปสู่ที่ต่ำ อาจเป็นแหล่งขัง
น้ำใต้ดินหรืออาจไหลออกสู่แม่น้ำลำธารที่อยู่ระดับต่ำกว่า หรือออกสู่ทะเลโดยตรงก็มี แต่
หากบางส่วนที่ซึมลงดินไปแล้ว เกิดมีชั้นดินแน่นทึบวางอยู่น้ำส่วนนี้ก็จะไหลไปตามลาดเท
ใต้ผิวดินและขนานไปกับผิวดินแน่นทึบดังกล่าวเรียกว่า interflow ซึ่งจะไหลออกสู่ผิวดินอีก
เป็นลักษณะของน้ำซับค่อยไหลซึมออกไป น้ำที่ซึมลงดินตามขั้นตอนต่าง ๆ นั้นอาจถูกราก
พืชดูดเอาไปปรุงอาหาร เลี้ยงลำต้นและคายออกทางใบ เรียกว่า การคายน้ำ (transpiration) ซึ่ง
เป็นจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับพืช
น้ำฝนส่วนที่เหลือจากการซึมลงดินเมื่ออัตราฝนตกมีค่าสูงกว่าอัตราการซึมลงดินก็จะเกิด
ขังนองอยู่ตมพื้นดินแล้วรวมตัวกันไหลลงสู่ที่ต่ำเรียกว่า overland flow บางส่วนอาจไปรวม
ตัวอยู่ในที่ลุ่มบริเวณเล็ก ๆ เรียกว่า surface storage แต่ส่วนใหญ่จะรวมกันมีปริมาณมากขึ้น
มีแรงเซาะดินให้เป็นร่องน้ำ ลำธารและแม่น้ำตามลำดับ น้ำที่ไหลอยู่ในแม่น้ำลำธารเรียกว่า
น้ำท่า (surface runoff) น้ำท่านี้จะไหลออกสู่ทะเล มหาสมุทรไปในที่สุด
ตลอดเวลาที่น้ำอยู่ในขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดการระเหยเรียกว่า evaporation คือ น้ำ
เปลี่ยนสภาพไปเป็นไอน้ำขึ้นไปสู่บรรยากาศตลอดเวลา อาจเป็นจากผิวของใบไม้ที่ดักน้ำฝน
ไว้ จากผิวดินทิ่อิ่มด้วยน้ำ จากผิวน้ำในแม่น้ำ ลำธาร ทะเลสาบ หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ แต่ส่วน
ใหญ่ก็คือ จากทะเลและมหาสมุทร เมื่อเป็นไอน้ำก็จะลอยสูงขึ้นไปและเมื่ออุณหภูมิเย็นลงก็
จะกลั่นตัวเป็นละอองหรือหยดน้ำและจะกลายเป็นฝนตกลงมาอีก วัฏจักรของน้ำจึงไม่มีเริ่ม
ต้น ไม่มีที่สิ้นสุดหมุนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา ปริมาณในขั้นตอนต่างๆ นั้นอาจผันแปรมาก
น้อยได้เสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ควบคุมในขั้นตอนเหล่านั้นการศึกษาว่าในขั้นตอนใด
มีปริมาณเท่าใดนั้นเรียกว่า water balance
ความชื้นในบรรยากาศ (Atmospheric Moisture)
ความชื้นทุกชนิดที่มนุษย์เกี่ยวข้องอยู่โดยทางปฎิบัติ สันนิษฐานว่าเริ่มต้นมาจากความ
ชื้นในบรรยากาศ ที่เป็นจุดเริ่มต้น ที่จะสะดวกในการตามหาเส้นทางวัฏจักรของน้ำ ให้
ครบวงจร ความชื้นในบรรยากาศ เพราะกระบวนการระเหยจากดินหรือผิวดิน เมฆและ
หมอกเกิดขึ้นโดยการกลั่นตัวของไอน้ำที่เกาะตัวบนอณูเล็ก ๆ ในบรรยากาศ เช่น อนุภาค
ของเกลือหรือฝุ่น


หยาดน้ำฟ้า (Precipitation)
เมื่อไอน้ำในอากาศถูกความเย็นทำให้เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ เมื่อรวม
ตัวกันจนมีขนาดใหญ่พวกมัน ก็จะตกลงมาในรูปของ "ฝน" ถ้าเม็ดฝนนั้นตกผ่านโซน
ต่างๆ ของอุณหภูมิ เช่น อุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็งก็จะกลายเป็นลูกเห็บ ถ้าการกลั่นตัว
นั้นเกิดขึ้นในที่ซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งมันก็จะก่อตัวเป็นหิมะ ถ้าการกลั่นตัวของ
น้ำเกิดขึ้นโดยตรงบนผิวพื้นที่เย็นกว่าอากาศ ก็จะเกิดเป็นได้ทั้งน้ำค้างแข็ง ขึ้นอยู่กับว่า
อุณหภูมิของพื้นผิวนั้นสูงหรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง



หยาดน้ำฟ้าที่ไม่ได้ตกถึงพื้นดิน

บางส่วนของหยาดน้ำฟ้าจะระเหยไปในระหว่างที่ตกลงมา บางส่วนก็ถูกดูดยึดไว้โดย
ต้นพืช และจะระเหยขึ้นสู่บรรยากาศในภายหลัง กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวน
การน้ำพืชยึด (Interception) ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเป็นปริมาณหยาดน้ำฟ้าทั้งหมดก็ได้


หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงถึงพื้น (Net Precipitation)
ส่วนของน้ำที่ตกลงถึงพื้น จะมีบางส่วนไหลซึมลงสู่พื้นดิน ส่วนหนึ่งไหลไปบน
พื้นดิน และบางส่วนระเหยไปหรือถูกพืชคายกลับคืนสู่บรรยากาศ


การซึมลงดิน (Infiltration)
ฝนหรือหิมะที่ละลายในตอนแรกมีแนวโน้มที่จะเติมความชื้นให้กับผิวดินก่อน จาก
นั้นก็จะเคลื่อนเข้าสู่ช่องว่างที่มีอยู่ในเนื้อดิน กระบวนการนี้เรียกว่าการซึมน้ำผ่านผิวดิน
(Infitration) สัดส่วนต่าง ๆ ของน้ำก็จะถูกจัดการต่างกันไป ตามลักษณะช่องเปิดของ
ผิวดิน อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณน้ำที่มีอยู่ในดินก่อนหน้านั้นแล้ว
ถ้าหากผิวดินจับตัวแข็งหรืออิ่มน้ำอยู่ก่อนแล้ว มันก็จะรับน้ำใหม่เข้าไปเพิ่มได้เพียง
เล็กน้อย น้ำทั้งหมดก็จะถูดดูดซึมบางส่วนจะไหลซึมลงไปเป็นส่วนของน้ำใต้ดิน บาง
ส่วนถูกพืชดูดไปใช้ประโยชน์แล้วคายระเหย คืนสู่บรรยากาศ บางส่วนถูกบังคับให้ระ
เหยไปด้วยแรงยึดเหนี่ยว (Capillary) ของช่องว่างในดิน
ในภูมิประเทศที่มีความลาดเท และชั้นผิวดินบาง น้ำที่ถูกดูดซึมอาจไหลย้อนสู่ผิวดิน
ได้ โดยการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เรียกว่าน้ำไหลใต้ผิวดิน (Sub-surface runoff)


การไหลของน้ำบนผิวดิน (Surface Runoff)
เมื่อน้ำฝนที่ตกลงมามีมากเกินกว่าจะไหลซึมลงในดินได้หมด ก็จะกลายเป็นน้ำบ่า
หน้าดินหรือน้ำท่า เมื่อมันไหลไปเติมพื้นผิวที่เป็นแอ่งลุ่มต่ำจนเต็มแล้ว มันก็จะไหล
ไปบนผิวดินต่อไป จนไปบรรจบกับระบบร่องน้ำในที่สุด แล้วก็ไหลตามเส้นทางของ
ลำน้ำ จนกระทั่งลงสู่มหาสมุทร หรือแหล่งน้ำ ในแผ่นดินบางแห่งในระหว่าทางนี้
มันก็จะสูญเสียไปด้วยการระเหยสู่บรรยากาศและการไหลซึมลงตามของตลิ่งและท้อง
น้ำ ซึ่งในส่วนนี้อาจจะเป็นไปได้ ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 100 % ของจำนวนทั้งหมด


การระเหยบนผิวดิน (Ground Evaporation)
บางส่วนของน้ำฝนจะถูกเก็บกักไว้บนผิวดินในลักษณะของความชื้นในดิน หรือแอ่ง
น้ำขังตามที่ลุ่มน้ำ ความชื้นนี้มักจะระเหยตามหลังการตกของฝน ส่วนน้ำที่ขังตามแอ่ง
ส่วนหนึ่งอาจระเหย ส่วนหนึ่งซึมลงดิน


การระเหย (Evaporation)
น้ำในสถานะของเหลว เมื่อถูกความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือแหล่งอื่นจะ
เปลี่ยนไปสู่สถานะก๊าซ หรือเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "การระเหย"


การระเหยจากน้ำและจากผิวดิน
จากจำนวนหยาดน้ำฟ้าทั้งหมดที่ตกลงมา ส่วนใหญ่จะตกลงโดยตรงสู่พื้นมหาสมุทร
ทะเลสาบขนาดใหญ่ในแผ่นดิน แหล่งน้ำบนดินอื่น ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง
ส่วนที่ตกลงในมหาสมุทรเมื่อรวมกับน้ำท่าที่ไหลกลับคืนมา จะทำให้เกิดความสมดุลย์
ของน้ำที่มั่นคงและแสดงหลักฐานโดยระดับน้ำทะเลคงที่น้ำหลายส่วนก็ระเหยจากผิวน้ำ
กลับสู่บรรยากาศและกลายเป็นส่วนหนึ่งของความชื้นในบรรยากาศ ในทะเล และพื้นที่
ตอนเหนือของเขตอบอุ่น การระเหยจากน้ำและจากผิวดินมีความถี่น้อยกว่าหยาดน้ำฟ้า
แต่ว่าส่วนเกินของมัน ก็จะไหลกลับคืนสู่มหาสมุทร ที่มันระเหยออกมาเช่นเดิม ในเขต
อื่น ๆ นั้น การระเหยจากผิวน้ำมักจะเท่ากับหรือมากกว่าน้ำฟ้าที่ตกลงบนแหล่งน้ำนั้น


การคายน้ำของพืช (Transpiration)
หน้าที่พื้นฐานอย่างหนึ่งในกระบวนการดำเนินชีวิตของพืช ก็คือการนำเอาน้ำจาก
ในดินผ่านเข้ามาทางระบบราก ใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตและการดำ
รงชีพ น้ำจะถูกปล่อยคืนสู่บรรยากาศทางรูพรุนที่ปากใบในรูปของไอน้ำ กระบวน
การคืนความชื้นของดินให้แก่บรรยากาศนี้เรียกว่า การคายน้ำ (transpiration) ปริมาณ
ของหยดน้ำฟ้าที่กลับคืนสู่บรรยากาศนี้จะมากน้อยต่างกันไปตามลักษณะของพืช และ
ความชื้นที่มีอยู่บริเวณระบบรากของมัน


น้ำใต้ดิน (Ground water)
ส่วนของหยาดน้ำฟ้าที่ไหลซึมผ่านผิวดินลงไป ถ้าไม่ถูกดูดซับเอาไว้ทดแทนความชื้น
ที่ขาดไปของชั้นดิน หรือโดยชันหินที่มีรูพรุน น้ำจำนวนนี้ก็จะซึมลึกลงไปจนถึงระดับ
อิ่มตัวอย่างสมบูรณ์ เรียกว่า ระดับน้ำใต้ดิน (ground water table) ความลาดเอียงและ
โครงสร้างที่จำกัดขอบเขตของน้ำใต้ดิน อาจช่วยป้องกันไม่ให้มันถูกปล่อยออกมาอย่าง
ทันทีทันใดหรือบางครั้งแหล่งน้ำใต้ดิน อาจมีส่วนที่เชื่อมต่อ กับ ท้องแม่น้ำ ทำให้มีบาง
ส่วนของน้ำไหลคืนสู่แหล่งน้ำบนดินอีกครั้ง น้ำใต้ดินอาจจะไหลผ่านไปในชั้นหินที่มีรู
พรุน และลงไปถึงระดับที่ถูกบีบล้อมด้วยดิน ที่แน่นกว่ากลายเป็นถูกอัดด้วยแรงดัน ถ้า
บ่อเจาะลงไปถึงระดับนี้ ก็อาจเป็นบ่อน้ำบาดาลเช่นกัน ในชั้นทีมีความกดดันเดียวกันนี้
อาจมีส่วนติดต่อกับบริเวณท้องมหาสมุทรและปล่อยน้ำออกสู่ทะเล
ดังนั้นจากความชื้นในบรรยากาศ ดังที่อธิบายถึง การเริ่มต้นของวัฏจักรก็จะดำเนินไป
ตามวิถีทางที่มีความยาวนาน และความสลับซับซ้อนต่าง ๆ กันไปก่อนที่มันบรรจบครบ
วงจร ในบทต่อ ๆ ไป จะแสดงเส้นทางเหล่านี้ในส่วนที่มันสัมพันธ์กับปฎิบัติการทาง
วิศวกรรโยธา

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle)

วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle)


คาร์บอน (Carbon) เป็นธาตุที่มีอยู่ในสารประกอบอินทรีย์เคมีทุกชนิด ดังนั้นวัฏจักรคาร์บอนมัก
ไปสัมพันธ์กับวัฏจักรอื่น ๆในระบบนิเวศ คาร์บอน เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของ
สารอินทรีย์สารในสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรด โปรตีน ไขมัน วิตามิน

วัฏจักรคาร์บอน หมายถึง การที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกอากาศถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต
หรือออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศ และน้ำอีกหมุนเวียนกันไปเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุดโดย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศและน้ำถูกนำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต
ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (CO2) จะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรียสารที่มีพลังงานสะสมอยู่
ต่อมาสารอินทรียสารที่พืชสะสมไว้บางส่วนถูกถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคในระบบต่าง ๆ โดยการกิน
CO2 ออกจากสิ่งมีชีวิตคืนสู่บรรยากาศและน้ำได้หลายทาง ได้แก่


1.การหายใจของพืชและสัตว์ เพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้ ทำให้คาร์บอนที่อยู่ในรูปของอินทรีย
สารถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระในรูปของ CO2
2.การย่อยสลายสิ่งขับถ่ายของสัตว์และซากพืชซากสัตว์ ทำให้คาร์บอนที่อยู่ในรูปของ
อาหารถูกปลดปล่อยออกมาเป็นอิสระในรูปของ CO2
3.การเผ่าไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน และคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของ
ซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน


วัฏจักรของคาร์บอนสัมพันธ์กับวัฏจักรน้ำเสมอ ความสมดุลของ CO2 ในอากาศ
เกิดจากการแลกเปลี่ยนของ CO2 ในอากาศกับน้ำ ถ้าในอากาศ CO2มากเกินไป
ก็จะมีการละลายอยู่ในรูปของ H2CO3
(กรดคาร์บอนิก) ดังสมาการต่อไปนี้
CO2+H2O H2CO3